แขวงอุดมไซ
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแขวงอุดมไซ
ลักษณะพิเศษของแขวงอุดมไซ
แขวงอุดมไซเป็นหนึ่งในแขวงภาคเหนือของลาว มีที่ตั้งเป็นใจกลางทางผ่าน ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 15.370 กิโลเมตร ความหนาแน่นของพลเมืองเฉลี่ย 18 คน / ตารางกิโลเมตร แขวงอุดมไซเป็นแขวงที่มีภูเขาและที่สูง มีเนื้อที่ภูเขารวมได้ 85% ของพื้นที่ทั้งหมด มีอาชีพการผลิตด้านการเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญ
แขวงอุดมไซ มี 7 เมือง 473 หมู่บ้าน ซึ่งจัดเป็น 67 กลุ่มบ้าน และ 87 หมู่บ้านขนาดใหญ่ มี 46,244 ครัวเรือน มีพลเมือง 276,960 คน หญิง 137,579 คน ประกอบด้วย 14 ชนเผ่า ปัจจุบันทั่วทั้งแขวงยังมีหมู่บ้านที่ทุกข์ยาก 244 หมู่บ้าน และครัวเรือนทุกข์ยาก 14,417 ครัวเรือน คิดเป็น 31.17% ของครัวเรือนทั้งหมด
สภาพการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมปี 2551 - 2552
ในปีที่ผ่านมา แขวงอุดมไซได้ประสบปัญหาภัยธรรมชาติหลายประการ เช่น น้ำท่วม ไข้หวัด สัตว์ปีก และศัตรูพืช หนู ทำให้ได้รับความเสียหายอย่างหนักพอสมควร อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจได้มีการขยายตัวในรอบปี 2551- 2552 ประมาณร้อยละ 6.16
- ด้านกสิกรรม เพิ่มขึ้น 6.16% คิดเป็น 56.69% ของ GDP
- ด้านอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 9.65% คิดเป็น 15.20% ของ GDP
- ด้านการบริหาร เพิ่มขึ้น 13.78% คิดเป็น 24.15% ของ GDP
**เฉลี่ยรายรับต่อหัวต่อปีคือ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นทีละน้อย - การผลิตสินค้าดีขึ้น สินค้าหลักคือข้าวโพด เนื้อที่ 35,000 เฮกตาร์ สามารถผลิตได้ 145,000 ตัน
- ปลูกยางพาราได้กว่า 17,000 เฮกตาร์ ซึ่งได้เริ่มปลูกตั้งแต่ปี 2548
การลงทุนต่างประเทศที่แขวงอุดมไซ
- การลงทุนต่างประเทศที่แขวงอุดมไซมี 36 โครงการ เป็นการลงทุนจากเวียดนาม 2 โครงการ จีน 29 โครงการ มาเลเซีย 4 โครงการ เกาหลีใต้ 1 โครงการ
- โครงการช่วยเหลือมี 8 โครงการ
งานด้านวัฒนธรรมและสังคม
งานด้านการศึกษา
ปัจจุบัน ทั่วแขวงอุดมไซ มีโรงเรียนประถมสมบูรณ์ 449 แห่ง มีนักเรียนทั้งหมด 51,734 คน ครู 1,285 คน อัตราเด็กเข้าเรียนในเกณฑ์อายุ 6 - 10 ปี บรรลุได้ 90% นอกจากนี้ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนประชาศึกษาเพื่อขจัดความไม่รู้หนังสือของประชาชน
งานด้านสาธารณสุข
แขวงอุดมไซ มีสุขศาลา 41 แห่ง ตู้ยาประจำบ้าน 350 หมู่บ้านซึ่งครอบคลุมเขตชนบท 100% นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างหมู่บ้าน 3 สะอาดได้ 75 หมู๋บ้าน จัดให้มีน้ำสะอาดได้ 310 หมู่บ้าน และฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ 100%
งานด้านแรงงานสวัสดิการสังคม
ได้สร้างงานให้ประชาชนบรรดาชนเผ่าต่างๆ ให้มีอาชีพมั่นคง ส่งแรงงานลาวไปทำงานในประเทศไทย 46 คน และได้นำเข้าแรงงานต่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านแรงงานในบรรดาโครงการวิสาหกิจภายในแขวง และบรรดาโครงการที่นักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนที่แขวงอุดมไซ โดยได้ดำเนินนโยบายเกี่ยวกับพนักงานอาวุโส เกษียณ และผู้มีคุณงามความดีต่อประเทศชาติ อย่างสมเหตุสมผล