แขวงสาละวัน
ที่ตั้ง
แขวงสาละวันตั้งอยู่ตอนใต้ของ สปป. ลาว
ทิศเหนือ | ติดกับแขวงสะหวันนะเขต |
ทิศใต้ | ติดกับแขวงจำปาสัก |
ทิศตะวันออก | ติดกับแขวงเซกอง และจ.เถื่อเทียนเว้ เวียดนาม |
ทิศตะวันตก | ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี |
การแบ่งเขตการปกครอง
8 เมือง ได้แก่ สาละวัน ละคอนเพ็ง คงเซโดน เหล่างาม ตุ้มลาน ตะโอ้ย สะม่วย วาปี
ภูมิประเทศ
- แขวงสาละวันมีพื้นที่ทั้งหมด 10,691 ตร.กม.
- ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- เขตภูเขา (เมืองตะโอย และสะม่วย) คิดเป็นร้อยละ 40 ของเนื้อที่แขวงฯ พื้นที่ค่อยๆ ลาดชัน จึง เหมาะสมแก่การปลูกไม้อุตสาหกรรม ไม้ผล กาแฟ และเลี้ยงสัตว์ใหญ่
- เขตที่สูง (เมืองเหล่างาม) คิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่แขวงฯ เหมาะสำหรับการปลูกกาแฟ เร่ว (หมาก แหน่ง) กล้วย ถั่วดิน ถั่วเหลือง มะเดื่อ ผักเมืองหนาว ฝ้าย และไม้ผล
- เขตที่ราบ (เมืองสาละวัน เมืองวาปี เมืองตุ้มลาน เมืองคงเซโดน และเมืองละคอนเพ็ง) คิดเป็นร้อยละ 40 ของพื้นที่แขวงฯ เป็นทุ่งกว้าง อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกข้าว พืชตระกูลถั่ว ประมง
ประชากร
- ประชากรแขวง 363,000 คน เป็นเพศหญิง 180,000 (ปี 2556)
- ความหนาแน่นของประชากร 33 คน/ตร.กม. มีจำนวน 624 หมู่บ้าน
- 14 ชนเผ่า ได้แก่ ลาวลุ่ม กะตาง ซ่วย ปะโก ละเวน ตะโอย พูไท อิน กะโด แงะ ต้ง กะตู กะไน และอาลัก โดยชน เผ่าลาวลุ่มเป็นประชากรส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 55.78
- ประชากรที่อยู่ในเกณฑ์ยากจนคิดเป็น 18 % ของประชากรแขวงฯ
- มีแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมาก (เวียดนามใช้แรงงานลาวปลูกยางพารา)
รายได้ต่อหัวต่อปี
710 ดอลลาร์สหรัฐ (2555)
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรน้ำ
แขวงสาละวันมีเขื่อนไฟฟ้าและอ่างเก็บน้ำซึ่งอาจผลิตไฟฟ้าและเป็นแหล่งน้ำจำนวนมาก อาทิ
- เขื่อนเซเซ็ด 1 กำลังการผลิต 45 MW เชื่อมกับห้วยเหาะ ส่งขายไทย ร้อยละ 90 ลงทุนโดยญี่ปุ่นร่วมกับการไฟฟ้าลาว
- เขื่อนเซเซ็ด 2 กำลังการผลิต 74 MW ส่งขายไทย ลงทุนโดยจีน
- เขื่อนเซเซ็ด 3 กำลังผลิตมากกว่า 50 MW
- อ่างเก็บน้ำเซโดน 1 เงินลงทุน 30 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ อาจผลิตไฟฟ้า และเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งผลิต
ทางการเกษตร
- อ่างเก็บน้ำเซโดน 2 มีขนาดใหญ่
- อ่างเก็บน้ำเซโดน 3 เมืองวาปี และ น้ำตกแก้งกุก ถ้าได้รับการพัฒนา จะสวยงามมาก
- แหล่งน้ำต่างๆ อาทิ เซละนอง เซละมัง
แร่ธาตุ
ได้แก่ บ่อถ่านหิน บ่อเหล็กเมืองตุ้มลาน (50 กม. จากตัวเมืองสาละวันด้านใกล้สะหวันนะเขต) บ่อหินปูนสำหรับทำ โรงงานซีเมนต์ บริษัทจีนขอเข้ามาเริ่มผลิตในปี 2006 คาดว่าจะมีผลผลิต 2 – 3 แสนตันต่อปี
ที่ดิน
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่เรียบตามแม่น้ำเซโดน เซกอน และแม่น้ำโขง เหมาะแก่การปลูกข้าว และเลี้ยง สัตว์เล็ก มีพื้นที่ 107,734 เฮกตาร์ ที่เมืองตะโอ้ย ได้รับการจัดสรรที่ดินในการทำกสิกรรม
ป่าไม้
มี 707,400 เฮกตาร์ รวมร้อยละ 66 เป็นป่าทึบร้อยละ 45, ป่าเล่า ร้อยละ 55 ป่าสงวนแห่งชาติ 3 แห่ง มี 240,163 เฮกตาร์ ป่าที่ปลูก 2 แห่ง 83,626 เฮกตาร์ และป่าป้องกัน 13,600 เฮกตาร์
การค้ากับต่างประเทศ/จุดผ่านแดน
- มีเอกชนไทยลงทุนในแขวงสาละวัน 9 บริษัท ได้แก่
- บริษัท อาเซียนอาลักร์คอปอเรชั่น จำกัด (ปลูกมันสำปะหลัง)
- บริษัท ลาว-ไทฮั้ว (ปลูกยางพารา)
- บรัษัท อุตสาหกรรมไม้ (ปลูกยางพารา)
- สาขาบริษัท ไซโย เอเอ (ปลูกไม้ยูคาลิปตัส)
- อุตสาหกรรมปรุงแต่งไม้ (โรงงานแปรรูปไม้)
- โรงงานปรุงแต่งไม้ เคมี สังทอง (โรงงานแปรรูปไม้)
- โรงงานปรุงแต่งไม้และเฟอร์นิเจอร์ จำกัด (ผลิตเฟอร์นิเจอร์)
- โรงงานชัยชนะ (ผลิตและอบแห้งข้าวโพด)
- โรงงาน farming และโรงสี (ทำ farming และโรงสีข้าว)
- เวียดนาม อาทิ บ. กาวซู Daklak ปลูกยางพาราในพื้นที่มากกว่า 20,000 เฮกตาร์ เพื่อส่งให้โรงงานยางพาราที่จะสร้าง ต่อไปในเมืองเหล่างาม บ.หูฟูโก ปลูกมันสำปะหลังและสร้างโรงงานบดแป้งมันสำปะหลัง ที่เมืองเหล่างาม
- จีน บ. Zhong Ya Yuxi สร้างโรงงานซีเมนต์ขนาดใหญ่มูลค่าการลงทุน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่เมืองสาละวัน คาดว่า จะผลิตซีเมนต์ได้ปีละ 4 – 5 แสนตัน
โครงการที่แขวงฯ ต้องการให้มีการลงทุน
ได้แก่ การเพาะปลูกพืชอุตสาหกรรมและไม้ผลที่เมืองสาละวัน เมืองตุ้มลาน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น อาทิ กาแฟ กล้วย ถั่วลิสง ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง รวมทั้งด้านบริการและการท่องเที่ยว
มีด่านท้องถิ่น 2 แห่ง คือ
- ด่านท้องถิ่นบ้านคันทงไซ เมืองคงเซโดน (ตรงข้ามด่านคันท่าเกวียน ต.นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม จ. อุบลราชธานี) ห่างตัวเมืองสาละวัน 73 กม.
- ด่านท้องถิ่นบ้านปากตะพาน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน (ตรงข้ามด่านปากแซง กิ่ง อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี) ห่างตัวเมืองสาละวัน 40 กม.
การศึกษาและสาธารณสุข
- มีโรงพยาบาลแขวง 1 แห่ง (70 เตียง) โรงพยาบาลเมือง 7 แห่ง (105 เตียง) สถานีอนามัย 43 แห่ง (122 เตียง) คลินิก เอกชน 8 แห่ง ร้านขายยา 68 แห่ง
- โรงเรียนอนุบาล 46 แห่ง
- โรงเรียนประถม และโรงเรียนมัธยม 625 แห่ง มีนักเรียนทั้งหมด 36,517 คน ประถมศึกษา 49,654 คน มัธยมต้นและ มัธยมปลาย 13,863 คน
- โรงเรียนชนเผ่า 3 แห่ง
- โรงเรียนฝึกอบรมวิชาชีพ 1 แห่งและวิทยาลัยครู 1 แห่ง
การท่องเที่ยว
มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ ได้แก่
- น้ำตกเซเซ็ด
- น้ำตกตาดเลาะ (มีการนั่งเรือ ขี่ช้าง)
- น้ำตกแก้งกุก (ใกล้ตัวเมืองเพียง 3 กม. ยังไม่มีนักลงทุน)
- อ่างเก็บน้ำเซโดน ภูละหิต (ติดอำเภอเขมราฐ จ. อุบลราชธานี)
- ภูละเมาะ (เหมาะสำหรับทำสนามกอล์ฟ ซึ่ง บ.ฟินแลนด์เคยมาเสนอแต่ยังไม่ได้รับอนุญาต)
- ร่อยรอยสงคราม อาทิ เส้นทางโฮจิมินห์ สะพานสุพานุวงที่หักกลาง
คมนาคม
เส้นทางติดต่อไปยังแขวงอื่นๆ
- เส้นทางหมายเลข 20 ไปจำปาสัก
เส้นทางไปยังเวียดนาม
- เส้นทางหมายเลข 15 แขวงสาละวันประสงค์จะให้มีการปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 15 จากเมืองสาละวันไปเมือง นาปง ซึ่งโครงการนี้จะใช้เงินประมาณ 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หมายเหตุ: เส้นทางหมายเลข 15 มีความยาวในสาละวัน147 กม. (จากแขวงสาละวันถึงเว้ เวียดนาม 265 กม.) ไปยัง เวียดนามได้ 2 ทาง คือ ทางกวางจิ และทางเว้ และเส้นทางระหว่างอุบลราชธานี– สาละวัน – เว้ ประมาณ 500 กม.
คณะผู้บริหารแขวงฯ
ท่านคำบุ่น ด้วงปันยา กรรมการศูนย์กลางพรรคลำดับที่ 26 / เจ้าแขวงสาละวัน